ความเป็นมาของศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ
สภาวการณ์ในปัจจุบัน การค้าระหว่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ เนื่องจากประเทศต่างๆทั่วโลกมีความจำเป็นที่จะต้องขยายตลาดและการลงทุนใน ธุรกิจต่างๆ สู่ประเทศอื่นๆ ขณะเดียวกันก็จำเป็นที่จะต้องเปิดประเทศของตน เพื่อเปิดโอกาสให้ประเทศอื่นๆ เข้ามาเปิดตลาดการค้าและขยายการลงทุนในประเทศของตน ซึ่งรูปแบบการค้าระหว่างประเทศ มีการพัฒนาสู่รูปแบบที่ซับซ้อนขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างกฎเกณฑ์ ในระเบียบการค้า ต่างๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกประเทศมากที่สุด โดนเหตุนี้องค์การการค้าโลกหรือWTO จึงถูก จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 เพื่อเป็นเวทีสำหรับเจรจาการค้า และยุติข้อพิพาท ทางการค้าแก่ประเทศต่างๆ
สำหรับประเทศไทยนั้นมีการพึ่งพารายได้จากการค้าระหว่างประเทศมากพอสมควร มาตั้งแต่ อดีต จนถึงปัจจุบันโดยรายได้จากการส่งออกที่สำคัญของไทยตั้งแต่อดีตได้แก่สินค้า เกษตรและพัฒนา มาเป็นสินค้าอุตสาหกรรมและบริการในปัจจุบัน ยิ่งนับวัน การค้าระหว่างประเทศยิ่งมีความสำคัญ ต่อเศรษฐกิจไทยมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศภายใต้กรอบของ องค์การการค้าโลกในปัจจุบัน และ อนาคตจึงได้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2542 ซึ่งทำหน้าที่ศึกษา และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆภายใต้องค์การการค้าโลก เพื่อสนับสนุน ให้ภาคธุรกิจไทยได้เข้าใจถึงกฎเกณฑ์ทางการค้าระหว่างประเทศอย่างถ่องแท้
ปรัชญา/ปณิธาน
: แหล่งวิชาการ เชี่ยวชาญวิจัย เสนอแนะนโยบาย ทำนายการค้า
วิสัยทัศน์
: เป็นศูนย์วิเคราะห์ วิจัย ที่เชี่ยวชาญเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ
ภารกิจหลัก
1. เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลที่ละเอียดและทันสมัยเกียวกับกฏเกณฑ์และระเบียบต่างๆ ขององค์การ การค้าโลก อาทิเช่น
- ประวัติความเป็นมา โครงสร้าง และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ GATT และ WTO
- สนธิสัญญา ข้อตกลงและเอกสารทางการของ GATT และ WTO
- ผลกระทบของ GATT และ WTO ต่อโลกโดยรวม
- ผลกระทบของ GATT และ WTO ต่อโลกโดยรวม
- ข้อเสนอในการเจรจารอบใหม่ของประเทศต่างๆ
- พันธกรณีและการบังคับใช้ข้อตกลงของประเทศต่างๆ
- กรณีพิพาทและการตัดสินข้อพิพาทภายใต้ WTO
- ข้อกีดกันทางการค้าที่เป็นภาษี
- ข้อกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี
- ประเทศไทยกับการค้าระหว่างประเทศและ WTO
- ผลกระทบของ GATT และ WTO ต่อไทยโดยรวม
- โครงสร้างและความสามารถในการแข่งขันในภาคเกษตร
- โครงสร้างและความสามารถในการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมเกษตร
- โครงสร้างและความสามารถในการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรม
- โครงสร้างและความสามารถในการแข่งขันในภาคบริการ
- โครงสร้างและความสามารถในการแข่งขันด้านการลงทุน
- การประมง
- สิ่งทอ
- พาณิชย์อิเลคทรอนิคส์
- กฏแหล่งกำเนิดสินค้า
- การค้าและสิ่งแวดล้อม
- สิทธิบัตรและลิขสิทธิ์
- Special & Differential Treatments (S&D)
- GMO
- Non-Trade Concerns
- สถิติการค้าต่างๆ
2. เขียนบทความทางวิชาการที่มีคุณภาพเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ
3. ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศทางด้านการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ แก่หน่วยงานภาครัฐ
จุดมุ่งหมาย
1. เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับความเป็นไปและกฎระเบียบทางการค้า ระหว่างประเทศและองค์กรการค้าโลก เพื่อบริการและเผยแพร่แก่นักศึกษา สถาบันการศึกษา หน่วย งานธุรกิจ ตลอดจนสถาบันอื่นๆทั้งในภาครัฐ และเอกชน
2. ศึกษาวิเคราะห์ประเด็นปัญหา กฎระเบียบ และนโยบายการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับองค์การการค้าโลกโดยจัดทำเป็นรายงาน บทวิเคราะห์ทางวิชาการ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อเป็นประโยชน์ในด้านการศึกษาและการปรับตัวของภาคเอกชนไทย ตลอดจนสื่อความคิดเห็นเชิงวิชาการไปยังหน่วยงานภาครัฐร่วมมือกับคณะกรรมการ ร่วมภาคเอกชน อันประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ ในการดำเนินการศึกษาวิจัย จัดสัมมนา และการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศและองค์การการค้า อันจะยังประโยชน์ต่อสาธารณชนทั่วไป
กิจกรรม
1. งานรวบรวม ทำสำเนา บันทึกคอมพิวเตอร์ และเข้าแฟ้มข่าว และข้อมูล
2. งานให้บริการข่างสารข้อมูลแก่นักศึกษา ภาคธุรกิจ และหน่วยงานต่างๆ ณ ศูนย์
3. งานเขียนและบันทึกข่าวและข้อมูลในเว็บไซต์
4. เขียนและเผยแพร่บทความ บทวิเคราะห์ งานวิจัยในเว็บไซต์ newsletter หนังสือพิมพ์ และวารสารภาครัฐและเอกชน
5. ร่วมประชุมกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร) WTO และการสัมมนา/ระดมความเห็นร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
โครงสร้างการบริหาร
โครงสร้างการบริหารของศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. คณะทำงาน อันมีหัวหน้าศูนย์เป็นประธานทำหน้าที่ดำเนินงานต่างๆตามวัตถุประสงค์ของศูนย์ฯเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
2. คณะกรรมการ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาข้อแนะนำและความคิดเห็นแก่คณะทำงาน
นายประมนต์ สุธีวงศ์ |
ประธานหอการค้าไทยและประธาน กกร. WTO |
ที่ปรึกษา |
รองศาสตราจารย์ ดร.จีรเดช อู่สวัสดิ์ |
อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
ที่ปรึกษา |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุไรวรรณ ธนสถิตย์ |
รอง อธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
ที่ปรึกษา |
อาจารย์ ดร.เสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ |
คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
ที่ปรึกษา |
อาจารย์ ดร.วิสูตร ตุวยานนท์ |
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
ที่ปรึกษา |
คุณ บุญทิพา สิมะสกุล |
อดีตอธิบดีกรม เศรษฐกิจการพาณิชย์ |
ที่ปรึกษา |
ดร. ปรียานุช พิบูลสราวุธ |
ผู้อำนวยการส่วนศึกษา วิจัยนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ |
ที่ปรึกษา |
ดร. อัทธ์ พิศาลวานิช |
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
ประธานกรรมการ |
นางสาวจีราวดี พุ่มเจริญ |
นักวิจัยประจำศูนย์ ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ |
กรรมการและเลขานุการ |
นางสาวศุภรัตน์ ปิ่นจินดา |
นักวิจัยประจำศูนย์ ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ |
กรรมการและเลขานุการ |
นางสาวอุมาวดี เพชรหวล |
นักวิจัยประจำศูนย์ ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ |
กรรมการและเลขานุการ |
นายพูนทวี ชัยวิจิตมลากูล |
นักวิจัยประจำศูนย์ ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ |
กรรมการและเลขานุการ |
คณะทำงานศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ
ทำหน้าที่ดำเนินงานต่างๆตามภาระกิจหลักของศูนย์ฯและตามคำแนะนำของคณะที่ปรึกษาและกรรมการศูนย์ฯประกอบด้วย
- ดร. อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ
- นางสาวจีราวดี พุ่มเจริญ นักวิจัยประจำศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ
- นางสาวศุภรัตน์ ปิ่นจินดา นักวิจัยประจำศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ
- นางสาวอุมาวดี เพชรหวล นักวิจัยประจำศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ
- นายพูนทวี ชัยวิจิตมลากูล นักวิจัยประจำศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ
แหล่งเงินทุนการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ
ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณประจำปีจากมหาวิทยาลัยหอการค้าและหน่วยงานราชการทั้งในและต่างประเทศ